บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำคมการพูด

ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า    หนังสือเป็นตรีมีปัญญาไม่เสียหาย
  ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากตาย    มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ
ถึงเป็นครูรู้วิชาปัญญามาก    ไม่รู้จักใช้ปากให้จัดจ้าน
เหมือนเต๋าฝังนั่งซื่อฮื้อรำคาญ    วิชาชาญมากเปล่าไม่เข้าที
(วิวาห์พระสมุทร ของรัชกาลที่ 6)

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์    มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร    จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
(สุนทรภู่)

จงคิดเสียให้ดีแล้วจึงพูด    รัดหูรูดปากไว้ให้จงหนัก
อย่าพูดพล่อยจะอายคนจนใจนัก    เขาจะทักว่าเรานี้หมดดีเอย
(ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์)

ฯลฯ


วิธีการจูงใจให้ผู้อื่นฟังสิ่งที่เราพูด

การฟังและการพูดเป็นเสมือนด้านหัวและด้านก้อยของเหรียญอันเดียวกัน แยกกันไม่ได้ การพูดที่ไม่มีคนฟังไม่มีประโยชน์เหมือนเป็นเหรียญเก๋มีหน้าเดียว ใช้ซื้อขนมไม่ได้ เราได้ผ่านข้อเสนอวิธียกระดับการฟังที่ไม่ได้รับการเหลียวแลมากนักทั้งๆที่มีความสำคัญยิ่งทั้งในด้านการงานและชีวิตส่วนตัวของทุกคน ทั้งผู้พูดและผู้มีส่วนทำให้การพูดจา การสนทนาและการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลตามจุดมุ่งหมาย เราทุกคนเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง การฟังอย่างมีปรสิทธิภาพควบคู่ไปกับการพูดอย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะเสนอข้อคิด 9 ประการ เมื่อเราเป็นผู้พูดว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้ฟังอยากฟังหรือตั้งใจฟังเรามากขึ้น ข้อเสนอนี้นอกเหนือไปจากความจริงที่ว่า  ถ้าเราตั้งใจฟังผู้อื่นในขณะที่เขาพูด เขามักตั้งใจฟังเราเมื่อถึงเวลาที่เราพูดบ้าง

            ข้อคิด 9 ประการ
1.ปัจจัยเสริมคำพูด
2.เนื้อของสิ่งที่พูด
3.รู้จักผู้ฟัง
4.สร้างไมตรีจิต
5.สร้างความน่าเชื่อถือ
6.ภาษา
7.ช่วยผู้ฟังให้เข้าใจและจำได้
8.เปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม
9.คำสอน คำแนะนำ
อยากรู้ลายละเอียดติดตามตอนต่อไป.......